ข้อความวิ่ง

เป็นหมู่กันเด้อครับพี่น้อง

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

บทที่ 5 จริยะธรรมสารสนเทศเเละสิทธิทางปัญญา


                                              
                                        1.อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ คืออะไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง

อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ หมายถึง     การกระทำผิดทางอาญาในระบบคอมพิวเตอร์ หรือการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อกระทำผิดทางอาญา เช่น ทำลาย เปลี่ยนแปลง หรือขโมยข้อมูลต่าง ๆ เป็นต้น   ระบบคอมพิวเตอร์ในที่นี้ หมายรวมถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เชื่อมกับระบบดังกล่าวด้วย
สำหรับอาชญากรรมในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (เช่น อินเทอร์เน็ต) อาจเรียกได้อีกอย่างหนึ่ง   คือ
       อาชญากรรมไซเบอร์ (อังกฤษ: Cybercrime) อาชญากรที่ก่ออาชญากรรมประเภทนี้ มักถูกเรียกว่า แครกเกอร์
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ คือ
       1.การกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ อันทำให้เหยื่อได้รับ
ความเสียหาย และผู้กระทำได้รับผลประโยชน์ตอบแทน
      2.การกระทำผิดกฎหมายใด ๆ ซึ่งใช้เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ
และในการสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่เพื่อนำผู้กระทำผิดมาดำเนินคดี
ต้องใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีเช่นเดียวกัน      การประกอบอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ได้ก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อเศรษฐกิจของประเทศจำนวนมหาศาล อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ จึงจัดเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ หรือ อาชญากรรมทางธุรกิจรูปแบบ หนึ่งที่มีความสำคัญ
 อาชญากรทางคอมพิวเตอร์
1. พวกเด็กหัดใหม่ (Novice)
2. พวกวิกลจริต (Deranged persons)
3. อาชญากรที่รวมกลุ่มกระทำผิด (Organized crime)
4. อาชญากรอาชีพ (Career)
5. พวกหัวพัฒนา มีความก้าวหน้า(Con artists)
6. พวกคลั่งลัทธิ(Dremer) / พวกช่างคิดช่างฝัน(Ideologues)
7. ผู้ที่มีความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์อย่างดี (Hacker/Cracker )
 
                            2.อธิบายความหมายของ คำต่อไปนี้

Hacker
หมายถึง บุคคลผู้ที่เป็นอัจฉริยะ มีความรู้ในระบบคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี  สามารถเข้าไปถึงข้อมูลในคอมพิวเตอร์โดยเจาะผ่านระบบ รักษาความปลอดภัยของ  คอมพิวเตอร์ได้ แต่อาจไม่แสวงหาผลประโยชน์ 
           Cracker หมายถึง ผู้ที่มีความรู้และทักษะทางคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี  จนสามารถเข้าสู่ระบบได้ เพื่อเข้าไปทำลายหรือลบแฟ้มข้อมูล หรือทำให้  เครื่องคอมพิวเตอร์ เสียหายรวมทั้งการทำลายระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์
กรณีตัวอย่าง อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ในประเทศไทย ที่ถูกรวบรวมโดยศูนย์ข้อมูลข้อสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลเสียต่อการดำเนินธุรกิจ
กรณี
ISP
แห่งหนึ่ง ถูกพนักงานเดิมที่ไล่ออกไป แก้ไขเว็บ
ผู้ให้บริการอินเตอร์เนต (
ISP) แห่งหนึ่งในประเทศไทย เมื่อได้ไล่พนักงานกลุ่มหนึ่งออกไปแล้ว ปรากฏว่าเว็บไซต์ของ ISP รายนั้น ได้ถูกเพิ่มเติมข้อมูลกลายเป็น เว็บลามกอนาจาร และได้ใช้ชื่อ E-Mail
ของผู้บริหาร ส่งไปด่าทอผู้อื่น
กรณี แอบใช้
Account InterNet ของผู้อื่นการแอบลักลอบใช้ Account Internet ของผู้อื่น ทำให้ผู้นั้นต้องจ่ายค่าชั่วโมงมากขึ้น หรือเสียเวลาชั่วโมงการใช้งาน (คล้ายกับการจูนโทรศัพท์มือถือของผู้อื่น) จากการสืบสวนบางรายทราบว่า ใครเป็นผู้ใช้ บางรายทราบเพียงหมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้ในการติดต่อ(จาก Caller ID) และบางรายใช้หมายเลขโทรศัพท์เดียวกัน กับ Account หลายๆราย
ที่มา http://www.gotoknow.org/posts/37255
Hacker แฮกเกอร์ คือ 
ผู้ค้นหาจุดอ่อนของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครือข่าย แล้วลักลอบเข้าไปในระบบ เพื่อกระทำการบางอย่างที่ระบบไม่ได้เตรียมป้องกันไว้ ซึ่งมีแรงจูงใจในการกระทำมาจากผลประโยชน์ การประท้วง ท้าทาย หรือช่วยหาจุดบกพร่อง

                แคร็กเกอร์ (อาชญากร)
แครกเกอร์ (Cracker) ซึ่งก็คือ ผู้ที่มีความสามารถเหมือน Hacker ทุกประการ เพียงแต่พฤติกรรมของ Cracker นั้นจะเป็นการกระทำที่ขาดจริยธรรรม เช่น ขโมยข้อมูลหรือเข้าไปทำลายระบบคอมพิวเตอร์ให้ทำงานไม่ได้ เป็นต้น หรือเรียกอีกชื่อว่า Black Hat Hacker 

                    สแปม (Spam)คือ
ชื่อเรียกของการส่งข้อความที่ผู้รับไม่ได้ร้องขอ ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยส่วนมากจะทำให้เกิดความไม่พอใจต่อผู้รับข้อความ สแปมที่พบเห็นได้บ่อยได้แก่ การส่งสแปมผ่านทางอีเมล ในการโฆษณาชวนเชื่อ หรือโฆษณาขายของ โดยการส่ง อีเมลประเภทหนึ่งที่เราไม่ต้องการ ซึ่งจะมาจากทั่วโลก โดยที่เราไม่รู้เลยว่า ผู้ที่ส่งมาให้นั้นเป็นใคร จุดประสงค์คือ ผู้ส่งส่วนใหญ่ต้องการที่จะโฆษณา สินค้าหรือบริการต่าง ๆ ของบริษัทของตนเอง ซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของเมลขยะซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้รับรำคาญใจและเสียเวลาใน การกำจัดข้อความเหล่านี้แล้ว สแปมยังทำให้ประสิทธิภาพการขนส่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตลดลงด้วย สแปมในรูปแบบอื่นนอกจาก อีเมลสแปม ได้แก่ เมสเซนเจอร์สแปม นิวส์กรุ๊ปสแปม บล็อกสแปม และSMSสแปมการส่งสแปมเริ่มแพร่หลาย เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการส่งข้อความผ่านทางระบบอิเล็กโทรนิกส์ มีค่าใช้จ่ายน้อยมากเมื่อเทียบการการส่งข้อความชักชวนทางอื่น เช่นทางจดหมาย หรือการโฆษณาทางสื่อต่างๆ ทำให้ผู้ส่งประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข้อความเชิญชวน และในขณะเดียวกันกฎหมายเกี่ยวกับระบบอิเล็กโทรนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับสแปมยัง ไม่ครอบคลุม จนกระทั่งเริ่มมีใช้ครั้งแรกปี พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) ในประเทศสหรัฐอเมริกา
โทรจัน (Trojan)
ม้าโทรจัน (อังกฤษ: Trojan horse) หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกบรรจุเข้าไปในคอมพิวเตอร์ เพื่อลอบเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น เช่น ข้อมูลชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน เลขที่บัญชีธนาคาร หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ โดยส่วนใหญ่แฮกเกอร์จะส่งโปรแกรมเข้าไปในคอมพิวเตอร์เพื่อดักจับข้อมูลดังกล่าว แล้วนำไปใช้ในการเจาะระบบ และเพื่อโจมตีคอมพิวเตอร์, เซิร์ฟเวอร์, หรือระบบเครือข่ายอีกที ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อการโจมตีเพื่อ "ปฏิเสธการให้บริการ" (Denial of Services)
โปรแกรมม้าโทรจัน ถือเป็นโปรแกรมที่สอดคล้องกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ ไม่มีคำสั่งหรือการปฏิบัติการที่เป็นอันตรายต่อตัวคอมพิวเตอร์ จึงไม่ถือว่าเป็นไวรัสคอมพิวเตอร์
อ้างอิง (http://th.wikipedia.org)
         สปายแวร์ (Spyware)
Spyware คือ โปรแกรมที่แฝงเข้ามาในคอมพิวเตอร์ขณะที่คุณท่องอินเตอร์เน็ต ถูกเขียนขึ้นมาสอดส่อง การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ และจะทำการเก็บพฤติกรรมการใช้งานอินเตอร์เน็ตของเรา รวมถึงข้อมูลส่วนตัวหลาย ๆ อย่างได้แก่ ชื่อ - นามสกุล , ที่อยู่ , E-Mail --mlinkarticle--} Address และอื่น ๆ ซึ่งอาจจะรวมถึงสิ่งสำคัญต่าง ๆ เช่น Password หรือ หมายเลข บัตรเครดิตของเราด้วย นอกจากนี้อาจจะมีการสำรวจโปรแกรม และไฟล์ต่าง ๆ ในเครื่องเราด้วย  และ Spyware นี้จะทำการส่งข้อมูลดังกล่าวไปในเครื่องปลายทางที่โปรแกรมได้ระบุเอาไว้ ดังนั้นข้อมูลต่าง ๆ ในเครื่องของคุณอาจไม่เป็นความลับอีกต่อไป spyware อาจเข้ามาเพื่อโฆษณาสินค้าต่าง ๆ บางตัวก็สร้างความรำคาญเพราะจะเปิดหน้าต่างโฆษณาบ่อย ๆ แต่บางตัวร้ายกว่านั้น คือ ทำให้คุณใช้อินเตอร์เน็ทไม่ได้เลย วิธีการป้องกันเพื่อไม่ให้ถูกโจมตีจากสปายแวร์
1.ติดตั้งโปรแกรม
Anti-Spyware ไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ Anti-Spyware ตรวจหา Spyware
ในเครื่องคอมพิวเตอร์ เเละเตือนให้เราทำการลบ
2.ไม่ดาว์นโหลดไฟล์ข้อมูลหรือโปรแกรมจากเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ
3.ตรวจ สอบ
Update โปรแกรม Antivirus เนื่องจากปัจจุบันมีการสร้าง โปรแกรมประเภท Virus หรือ สปายแวร์ออกมาเผยแพร่ภายในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอยู่ตลอดเวลาทำให้บางครั้ง หากการ Update หรือปรับปรุง {--mlinkarticle=2011--}antivirus program  หรือ Anti-Spyware อย่างไม่สม่ำเสมอหรือนานๆครั้ง ก็อาจถูกโจมตีจาก Virus หรือ Spyware
ได้เช่นกัน
ข้อมูล
อ้างอิง http://ccs.sut.ac.th

                         3. ตัวอย่างกฏหมาย ICT หรือ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มีอะไรบ้างจงอธิบายถึงการกระทำผิดและบทลงโทษมา 5 ตัวอย่าง
มาตรา 1 พ.ร.บ.นี้ เรียกว่า พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 2 ให้มีผลบังคับเมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป และมาตรา 3 ใน พ.ร.บ. ฉบับนี้ ระบบคอมพิวเตอร์หมายความว่า อุปกรณ์ หรือ ชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือ สิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุกรณ์ หรือ ชุดอุปกรณ์ ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
“ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง หรือ ชุดคำสั่ง หรือ สิ่งอื่นใด ที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้รวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หมายถึงข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ที่แสดงถึงแหล่งกำเนิดต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง วันเวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลา ชนิดของบริการ หรือ อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
“ผู้ให้บริการ” หมายความว่า ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือ ให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่นและผ่านทาวระบบคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือ ในนาม หรือ เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น รวมถึงผู้เก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น ส่วนผู้ใช้บริการ หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้ บริการ ไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.นี้ ส่วนรัฐมนตรี หมาย ความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.นี้ ขณะที่มาตรา 4 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีทีรักษาการตรา พ.ร.บ.นี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตาม พ.ร.บ.นี้ โดยในส่วนของกฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้มีผลบังคับใช้ได้ทันทีนับตั้งแต่วันที่ประกาศ

มาตรา 5 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบ ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตราการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 6 ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้น และนำไปเปิดเผยโดยมิชอบในการที่น่าจะเกิดความเสียหายต้องระวางโทษจำคุกไม่ เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 7 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึง โดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 8 ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์และ ข้อมูลนั้น มิได้มีไว้เพื่อสาธารณะประโยชน์ หรือ เพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 9 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือ เพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมด หรือ บางส่วนซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 10 ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบเพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือ รบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 11 ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิด หรือ ปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่ง อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุขต้องระวางโทษ ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท ส่วนมาตรา 12 ถ้าการกระทำความผิดตามมาร 9 หรือ มาตรา 10 โดยวรรค 1 ถ้าก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นทั้งที หรือ ภายหลัง และไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
มาตรา 12 วรรคที่ 2 ถ้าเป็นการกระทําที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือ ระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือ การบริการสาธารณะ หรือ เป็นการกระทําต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือ ระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 15 ปี และปรับตั้งแต 6 หมื่นบาท ถึง 3 แสนบาท นอกจากนั้น ถ้าการกระทําความผิด ตามวรรคที่ 2 เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 10 ปี ถึง 20 ปี
มาตรา 13 ผู้ใดจำหน่าย หรือ เผยแพร่ ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด ตามมาตรา 5 มาตรา 6 มาตรา 7 มาตรา 8 มาตรา 9 มาตรา 10 หรือ มาตรา 11 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 14 ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(1) นำ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(2) นำ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความ ตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(3) นำ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการ ก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(4) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4)
มาตรา 15 ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุน หรือ ยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 14 ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามาตรา 14
  มาตรา 16 ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ที่ปรากฎเป็ยภาพของผู้อื่น และภาพนั้น เป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือ ดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อื่นใด ที่น่าจะทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือ ได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 17 ผู้ใดกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.นี้ นอกราชอาณาจักรและ วรรค 1 ผู้กระทำความผิดนั้น เป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้น หรือ ผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ วรรคที่ 2 ผู้กระทำความผิดนั้น เป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทย หรือ คนไทยเป็นผู้เสียหาย และผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ จะต้องได้รับโทษในราชอาณาจักร


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น